วันพุธที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2558
วันอังคารที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2558
วันเสาร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2558
วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2558
วันพุธที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2558
พระฤาษีหน้าเสือ หรือ พระฤาษีกาลสิทธิ์
พระฤาษีหน้าเสือ หรือ พระฤาษีกาลสิทธิ์ เดิม ท่านเป็นฤาษีที่มีตะบะเดชะมาก จนฤาษีอุตริหรือฤาษีหน้าลิงได้ให้ท่านแสดงฤทธิ์ ฤาษีกาลสิทธิ์จึงจำแลงตนให้มีหน้าเป็นเสือก่อนที่ท่านจะจำแลงท่านได้ทำน้ำมนตเพื่อใช ้ในการกลับคืนสู่สภาพเช่นเดิม ด้วยความอุตริหรือความสนของฤาษีหน้าลิงพอฤาษีกาลสิทธิ์ได้จำแลงตนเป็นหน้าเสือ แล้วก็ ได้เทน้ำมนต์นั้นทิ้ง จึงทำให้ฤาษีกาลสิทธิ์กลับสู่สภาพเดิมไม่ได้
ขอบคุณบทความจาก
http://tewaboocha.com/?lang=th
พ่อแก่.พระฤาษี
ประวัติพ่อแก่ ตำนานของพ่อแก่ พ่อแก่ฤาษี
พ่อแก่ หรือพระฤาษี ถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่คนในแวดวงศิลปะแขนงต่างๆ ล้วนนิยมเคารพนับถือบูชา เนื่องด้วยเกิดจากความเชื่อที่ว่า ในอดีต พ่อแก่หรือพระฤาษีได้เป็นผู้นำเอาศิลปะ แขนงต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการร้องรำทำเพลง หรือแม้แต่การร่ายรำ นาฏศิลป์ต่างๆ มาถ่ายทอดให้แก่มนุษย์ได้รับรู้ความงาม ความอ่อนช้อยของศิลปะ รู้จักความอ่อนโยน รู้จักรัก รู้จักเมตตา และ
การให้อภัย ก่อให้เกิดความสุขแก่มวลมนุษยชาติ ดังนั้นศิลปิน หรือผู้เกี่ยวข้องในศิลปะทุกแขนง ในประเทศไทยจึงได้เคารพบูชาพ่อแก่ หรือครูฤาษีว่าเปรียบดังบรมครูแห่งศาสตร์ของการแสดง เมื่อได้บูชาแล้วจะก่อให้เกิดศิริมงคล มีความเจริญก้าวหน้าในด้านการงาน มีเสน่ห์ เมตตามหานิยมในตัว
ความเป็นมาของพ่อแก่ หรือพ่อแก่ฤาษี
พ่อแก่, พระฤาษี หรือบางครั้งก็เรียกกันว่า ครูฤาษี ถือเป็นบรมครูแห่งศาสตร์ของการแสดง ตามตำนานกล่าวไว้ว่า พระฤาษีมีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 108 องค์ ปางเสมอเถรถือว่าเป็นปางที่มีฤทธิ์มากที่สุดในบรรดาทั้ง 108 องค์ คำว่า ฤาษี มาจากคำว่า ฤาษิ แปลว่า ผู้เห็นด้วยความรู้พิเศษอันเกิดจากฌาน ซึ่งสามารถแลเห็นอดีตปัจจุบัน และอนาคตได้ บางครั้งก็เรียกพ่อแก่หรือฤาษีว่า
"ตฺริกาลชฺญ" แปลว่า ผู้รู้กาลทั้งสาม นอกจากนี้พระฤาษียังถือว่าเป็นผู้ประทานสรรพวิชาความรู้ ทั้งมวลแก่มนุษยชาติ เนื่องด้วยตำราทางโหราศาสตร์ และตำราทางเทววิทยา กล่าวไว้สอดคล้องกันว่า พระพฤหัสบดีถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้เป็นอาจารย์แห่งสรรพวิชาความรู้ทั้งมวล
เนื่องด้วยพระอิศวรมหาเทพ ร่ายพระเวทให้ฤาษี 19 ตน ป่นเป็นธุลี แล้วห่อด้วยผ้าสีแก้วไพฑูรย์ ประพรมด้วยน้ำอมฤต บังเกิดเป็นเทวราช มีสีกายดั่งแก้วไพฑูรย์ มีวิมานบุษราคัม ทรงกวางทองเป็นพาหนะ รักษาเขาพระสุเมรุด้านทิศตะวันตก มีร่างกายแสดงด้วยสัญลักษณ์ของฤาษีจึงมีปัญญาบริสุทธิ์ เฉลียวฉลาด พูดจาไพเราะเสนาะหู เป็นอาจารย์แห่งสรรพวิชาความรู้ทั้งมวลรวมถึงเป็นอาจารย์ของเหล่าเทพเทวดา จึงให้ถือว่าวันพฤหัสบดีอันแสดงด้วยสัญลักษณ์ของฤาษีเป็นวันครูจึงมีการไหว้ครูกัน
วันอังคารที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2558
พระฤาษีนนทิเกศวรหรือวาลมีกิ. หน้าวัว.ตาวัวและวัชรมถค
ประวัติ ฤาษีนนทิเกศวรหรือวาลมีกิ,หน้าวัว,ตาวัวและวัชรมฤค เดิมที่เป็นพระสงฆ์ตาบอดอยู่เมืองศรีเทพ (ปัจจุบันอยู่ในจังหวัดลพบุรี) แต่ชอบเล่นแร่แปรธาตุท่านพยายามหาตำราสูตรต่างๆมาและตำราที่สร้างสรรค์ขึ้น เองเพื่อต้องการสิ่งที่วิเศษ จนท่านสามารถสำเร็จวิชาปรอทคือสามารถทำให้ปรอทแข็งตัวได้ท่านดีใจมาก จนวันหนึ่งท่านทำปรอทตกลงที่ถ่ายมูลท่านหายังไงก็หาไม่เจอให้ลูกศิษย์หาก็ กลัวมันรู้ จึงปิดปากเงียบจนลูกศิษย์ได้ไปเห็นแสงสีเขียวประหลาดเข้า จึงวิ่งแจ้นไปบอกท่านดีใจมากจึงรีบไปบอกให้ลูกศิษย์หยิบขึ้นมา
เลอะช่างมันเดี้ยวล้างได้ และก็เก็บใส่โถน้ำผึ้งไว้ ต่อมาท่านก็ขุ่นคิดว่า เออ เราก็มีของวิเศษอยู่ แล้วทำไมจีง
ไม่ ลองรักษาโรคตาบอดซะเลยละ ท่านจึงใช้ให้ลูกศิษย์ไปหาศพคนที่เพิ่งตายใหม่ๆและให้ควักลูกตามา เจ้าลูกศิษย์หาเท่าไรก็หาไม่เจอ จนไปเจอศพลูกวัวที่เพิ่งตายใหม่ๆเข้าจึงควักลูกตากลับมาให้ท่านแทน
ต่อมาท่านจึงควักลูกตาที่เสียออกแล้วใส่ลูกตาวัวแทนหร้อมใช้ปรอทวิเศษของท่านคลึงที่ดวงตาไปมาผลปรากฏว่าเกิดอภินิหารขึ้น
ตาของท่านที่บอดกลับมองเห็นอีกครั้ง ท่านจึงดีใจมากแต่ซักพักท่านก็ต้องตกใจ เมื่อมองหน้าที่กระจกใบหน้าจากคนก็กลายเป็นหน้าวัว
ฝ่ายลูกศิษย์ท่านต้องขอโทษท่านเป็นอย่างมาก แต่ท่านก็ให้อภัยและก็คิดว่า...
เฮ่อ ต้องลาเพศจากการเป็นสงฆ์แล้วสิเรา เพราะกฏห้ามสัตว์เดียรฉานบวชเป็นพระ ท่านจึกสึกจากการเป็นพระมาบวชฤาษีแทน จึงมีชื่อว่า พระฤาษีตาวัวหรือหน้าวัว เข้าป่าสร้างอาศรม บำเพ็ญตบะ
และคิดค้นสร้างสรรค์แสวงหาตำราเล่นแร่ แปรธาตุใหม่ๆ จนพบกลุ่ม 10 ฤาษี โดยมี ฤาษีพิลาไลย ฤาษีตาไฟ เป็นใหญ่ จึงของอาศัยอยู่ด้วยๆจาก10เป็น11ด้วยท่านเคยเป็นพระจึงมีตบะ เหนือฤาษีองค์อื่น และมีความสามารถในการเล่นแร่แปรธาตุทั้งเชิงตำราเชิงคิดสร้างสรรค์เอง ในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นหมอหรือนักเคมี จะบูชาพระฤาษีตาวัวหรือหน้าวัวกันไม่น้อย ท่านจัดว่าเป็นฤาษีของไทยทีมีชื่อเสียงมากที่สุดในสยาม
ขอบคุณบทความจาก
พระฤาษีตาไฟ
*พระฤษีตาไฟ
---พระฤษีองค์นี้ก็มี ๓ ตา อีกเช่นเดียวกัน ท่านมีอำนาจและมหิทธิฤทธิ์มากมายจนกระทั่งไม่มีใครกล้าไปยุ่งกับท่าน ตาที่ ๓ ของท่านอยู่ที่หน้าผากเช่นเดียวกับพระอิศวรท่านจะหลับสนิทตลอดเวลา ถ้าหากว่าเผลอเผยอเปลือกตาที่ ๓ นั้นออก ลืมขึ้นมาครั้งใดสิ่งที่อยู่ตรงหน้าของท่านก็จะต้องมอดไหม้เป็นจุลมหาจุลลงไปในที่สุด ด้วยประกายไฟอันแรงกล้าจากดวงตาที่ ๓ ของท่านแต่ในด้านอุปนิสัยใจคอของพระฤษีตาไฟนี้ ท่านมีนิสัยดุมากเสียงดัง แต่ส่วนภายในนั้นสิไม่มีใครจะใจดีเหมือนท่าน ชอบช่วยเหลือผู้อื่น ชอบเสริมสร้างในด้านของบารมี พูดกันง่ายๆก็คือ ปากร้ายแต่ใจดี
---หากใครประสงค์จะให้ท่านช่วยเหลืออะไร ก็ควรใช้ดอกไม้ธูปเทียนเคารพบูชาสักการะต่อท่านแล้วจะบนบานอย่างไร ก็จงตั้งใจบอก
ขอบคุณบทความจาก
วันอาทิตย์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2558
พระฤาษี
พระฤษีเป็นคำเรียกขานของคนที่บำเพ็ญเพียรด้วยความอุตสาหะเป็นความเชื่อของคนว่าต้องการจะหลุดพ้นจากความทุกข์บ้าง ก็ต้องการที่จะสร้างฤทธิ์สร้างบารมี จึงเกิดมีลัทธิมีการตั้งตัวเป็น อาจารย์สอนศิษย์ให้ประพฤติปฏิบัติตามหลักการ ที่วางไว้พระฤษี เป็นคำที่เรียกคนที่มีพลังจิตเด็ด เดี่ยวมุ่งปฏิบัติจนประสบผลสำเร็จในอย่าง ใดอย่างหนึ่ง หรือหลายๆอย่าง เช่นสามารถเหาะเหินเดิน อากาศได้ มีวาจาสิทธิ์ และอีก มากมายบางท่านก็เก่งเรื่องยาสมุนไพรเช่น ปู่ชีวกโกมารภ้ทรซึ่งเป็น แพทย์ประจำพระองค์ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็รวมเรียกท่านอยู่ในกลุ่มของฤษีเช่นกัน พระฤษี จัดคัดแยกเอาไว้ ๔ชั้น หรือ ๔ จำพวก คือ
*ชั้นที่ ๒ เรียกว่า พรหมรรษี
*ชั้นที่ ๓ เรียกว่า เทวรรษี
*ชั้นที่ ๔ เรียกว่า มหรรษี
ขอบคุณความรู้จาก http://www.watkaokrailas.com/index.php?mo=3&art=642836
ชั้น ที่ ๑ เรียกว่า ราชรรษี
---แปลว่า เจ้าฤษีชั้นนี้จะมีความเป็นอยู่ตามพื้นธรรมชาติคือมีความปกติเป็นพื้นฐาน เพียงแต่มีความริเริ่มและความพยายามที่จะบำเพ็ญเพียรในเบื้องต้นและปฏิบัติ อย่างต่อเนื่อง
*ชั้นที่ ๒ เรียกว่า พรหมรรษี
---แปลว่า พรพรหมฤษี เมื่อปฏิบัติเพียงพอกับความต้องการ ในเบื้องต้นแล้ว จึงได้ไปบังเกิดเป็นพระพรหม
*ชั้นที่ ๓ เรียกว่า เทวรรษี
---แปลว่า เทพฤษี ผู้ที่ปฏิบัติอย่างมุงมั่นด้วยตบะ จึงมีบารมีมาก พร้อมทั้งมี อิทธฤทธิ์และมีอำนาจมหาศาล
*ชั้นที่ ๔ เรียกว่า มหรรษี
---แปลว่า มหาฤษีชั้นนี้นอกจากมีอิทธิฤทธิ์ที่เกิดจากบารมีแล้ว ยังมีภูมิปัญญา มากมีอาคมแก่กล้าเป็นที่สุด
ขอบคุณความรู้จาก http://www.watkaokrailas.com/index.php?mo=3&art=642836
8.เช่าก๊กกู๋ ( Ts'ao Kuo Chiu )
เป็นเซียนอุปถัมภ์ของพวกนักแสดง เช่น ภาพยนต์ งิ้ว เป็นต้น มีเข็มขัดวิเศษ สามารถแยกออกน้ำได้
เป็นสัญญลักษณ์ของผู้ที่เกิดปี มะแม
7. ฮั่นเซียงจื้อ ( Han Hsiang-tzu )
เป็นผู้ที่มีนิสัยมักน้อย ชอบความสงบชอบอ่านหนังสือธรรมะ ไม่นิยมในทางโลก
เป็นสัญญลักษณ์ ของผู้ที่เกิดปีมะเมีย
วันเสาร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2558
5. น่าไชหัว (Lan Ts'ai-ho )
ตามรูป เป็นหนุ่มรูปงาม ท่าทางร่าเริง ถือกระเช้าดอกไม้ประดับด้วยดอกเบญจมาศ ดอกไหน กิ่งสนและใบใผ่ เป็นสัญญลักษณ์ของผู้ที่เกิดปีมะโรง
4. เจียงกั๋วเล้า (Chang Kuo Lao )
ตามรูปเป็นผู้เฒ่าเครายาว มือถือเครื่องดนตรีชนิดหนึ่งเรียกว่า ยูกุ รูปร่างคล้ายกระบอกไม้ไผ่กับไม้ตีอีก 2 อัน เป็นสัญญลักษณ์ของผู้ที่เกิดปีเถาะ
3. ลื่อท่งปิน ( Lu Tung Pin )
เป็นคนใฝ่ทางคุณธรรมตั้งแต่เป็นเด็ก ลักษณะ กระหม่อมสูง คิ้วยาว ตายาวเหมือนตาหงษ์ ปากกว้ าง ร่างกายสูงใหญ่ แข็งแรง เป็นสัญลักษณ์ ประจำปีขาล
2. ฮั่นเจงลี้ ( Han Chung-Li )
ตามรูปเป็นคนอ้วน เปิดเสื้อเห็นพุงพลุ้ย บางที่ก็ถือท้อ แต่ส่วนมากจะถือพัด และแซ่ บางทีก็ถือกระบี่ ศรีรษะล้าน และมีขมวดผมสองข้างศรีรษะ มีเครายาวถึงท้อง
นับว่าเป็นเซียนที่มีอายุยืนยาวและใช้เป็นสัญญลักษณ์ ของคนเกิดปีฉลู
นับว่าเป็นเซียนที่มีอายุยืนยาวและใช้เป็นสัญญลักษณ์ ของคนเกิดปีฉลู
1.ทิก๋วยลี้ หรือ ลีเทียะกวย ( Li T'ieh Kuai )
ตามรูปจะเห็นเป็นคนแก่พิการถือไม้เท้า มีน้ำเต้าเป็นพาหนะในการข้ามน้ำ ข้ามทะเลในน้ำเต้ามียาวิเศษ ด้วยเหตุนี้ร้านขายยาของคนจีน จึงชอบที่จะบูชารูปทิก๋วยลี้ใช้เป็นสัญญลักษณ์ ของคนเกิดปีชวด
โป๊ยเซียน ( Pa Hsien )
เซียน ในภาษาจีน มีความหมายรวม คนแก่แล้วไม่ตาย หรือ ผู้ที่ฝึกตนจนไม่รับประทานอาหารก็ไม่ตายว่าเป็นเซียน และตามประเพณีจีนยกย่องคนที่ตายไปแล้วว่าเป็นเซียน
โป๊ยเซียน ตามคติความเชื่อของจีน โป๊ยเซียนเกิดจากลัทธิเต๋า และเซียนส่วนมากก็มาจากบุคคลในประวัติศาสตร์จีน บางคนเป็นปราชญ์ รัฐบุรุษ แพทย์ นักดนตรี และกวี
ตามประเพณีจีนเมื่อถึงเทศกาลไหว้พระจันทร์ ก็จะต้องมีรูปโป๊ยเซียนมาบูชาด้วย เพราะถือว่าเป็นผู้อำนวยลาภให้แก่คนที่กราบไหว้ นับว่าโป๊ยเซียนเป็นของมงคล จึงมีผู้จัดทำรูปภาพ รูปปั้นไว้บูชาประจำบ้าน ประจำศาลสืบต่อมา
โป๊ยเซียน ( Pa Hsien ) เซียน 8 ท่าน มีลำดับดังนี้
1. ทิก๋วยลี้ หรือลีเทียะกวย (Li T'ieh Kuai )
2. ฮั่นจงหลี (Han Chung-Li )
3. ลือท่งปิน ( Lu Tung Pin )
4. เจียงกั๋วเล้า ( Chang Kuo Lao )
5. น่าไชหัว (Lan Ts'ai-ho )
6. ฮ่อเซียนโกว ( Ho Hsien-Ku )
7. ฮั่นเซียงจื๊อ ( Han Hsiang-tzu )
8. เชาก๊กกู๋ ( Tsao Kuo Chiu )
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)